***บทความนี้สรุปและดัดแปลงมาจากท่อนหนึ่งของหนังสือ Confessions of an Advertising Man by David Ogilvy ในหนังสือเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “10 เกณฑ์ที่ David Ogilvy จะรับทำงานโฆษณาให้” แต่ผมเอามาดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับบริษทอื่นนอกเหนือจากธุรกิจโฆษณา***
- ภูมิใจที่จะได้ร่วมงานกัน
มันคงแปลกที่เราต้องไปร่วมงานกับคู่ค้าที่เราไม่รู้สึกภูมิใจและไม่กล้าบอกคนรอบตัวว่าเราทำงานร่วมกับคู่ค้านี้ - เรามั่นใจว่าเราสร้างประโยชน์ได้
เราควรมั่นใจว่าเราสร้างประโยชน์ได้มากกว่าสิ่งที่เค้าทำได้อยู่แล้ว เพราะไม่งั้นตัวเราไม่สามารถพิสูจน์คุณค่าในการร่วมงานกัน ร้ายยิ่งกว่านั้น เราอาจจะไปทำให้ธุรกิจของคู่ค้าแย่กว่าเดิม - คู่ค้าที่มีปัญหาที่เราแก้ได้
เพราะถ้าคู่ค้ามีปัญหามากกว่าที่เราจะแก้ได้ เช่นถ้าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการตลาด คู่ค้าเรามีปัญหาที่การตลาดแก้ได้เราเข้าไปร่วมทำงานก็จะช่วยกันเติบโต แต่ถ้าปัญหาที่คู่ค้ามีมันเกินกว่าความเชี่ยวชาญของเราเช่น เค้ามีปัญหาเรื่องผู้ถือหุ้น หรือปัญหาผู้บริหาร ซึ่งเราไม่สามารถแก้ได้ด้วยความชำนาญของเรา ก็ไม่มีประโยชน์ที่เราจะไปร่วมทำงาน เพราะต่อให้เราทำในส่วนของเราได้ดี มันก็ยังมีปัญหาอื่นที่ใหญ่กว่า และทำให้ผลมันออกมาไม่ดี - คู่ค้าคิดว่าเราควรมีกำไร
ทำธุรกิจทุกคนต้องมีกำไร ซึ่งไม่ได้มองแค่กำไรขั้นต้น แต่ละคนจึงกำหนดส่วนต่างหรือกำไรที่แต่ละคนเห็นว่าสมควร ถ้าคู่ค้าไม่เห็นตรงกับเราเรื่องนี้ ก็จะทำงานด้วยกันลำบากเพราะเราจะไปตกอยู่ในสถานการณ์ Taker-Giver หรือ Taker-Taker ซึ่งไม่ได้มีสถานการณ์ไหนส่งผลดีต่องานเลย - ถ้าไม่ได้กำไรก็ต้องได้อย่างอื่น
บางครั้งเราอาจจะต้องร่วมมือกับคู่ค้าในโปรเจ็คที่เราอาจจะไม่มีกำไร แต่มีโอกาสที่เราสามารถนำสิ่งนั้นไปต่อยอดได้ เช่นเรามีโอกาสได้ทำงานที่ใหญ่ขึ้น ได้เรียนรู้จากคู่ค้า หรือได้ connection ที่จะต่อยอดในสิ่งที่เราทำอยู่ได้ เราก็ควรทำ - คู่ค้าให้ความเคารพในความเชี่ยวชาญของเรา
เหมือนความสัมพันธ์ของหมอกับคนไข้ ซึ่งเราคือหมอที่เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราเข้ามาช่วย ถ้าคู่ค้าไม่ฟังและคิดว่าคำแนะนำหรือการทำงานของเราไม่มีประโยชน์ มันก็คงแปลกที่จะทำงานด้วยกันต่อไป - เรามีความสำคัญในธุรกิจของคู่ค้า
สิ่งที่เราทำอยู่และเชี่ยวชาญ ควรเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆกับธุรกิจของคู่ค้า เพราะถ้ามันไม่ค่อยสำคัญ เราก็ไม่สำคัญ - เชื่อใจกันได้
คู่ค้าให้ความมั่นใจว่าสิ่งที่จะทำร่วมกันนั้น ทางเค้าก็มีความเชี่ยวชาญหรือมีอะไรที่จับต้องได้ เช่น ถ้าเป็นเจ้าของสินค้าก็ควรต้องผ่านการขายมาแล้วระดับนึง ทดสอบกับตลาดมาแล้วว่าสินค้าดีจริง มีคนชอบ เพราะถ้าข้อมูลที่ให้ไม่เป็นความจริง อาจจะทำให้โปรเจ็คที่ทำร่วมกันไม่สำเร็จได้ - คู่ค้ามีคนตัดสินใจจำนวนไม่เยอะและชัดเจน
การร่วมงานกับคู่ค้าที่มีคนตัดสินใจหลายคน ทำให้โปรเจ็คนั้นล่าช้าและอาจจะไม่ได้เป็นไปในสิ่งที่มันควรจะเป็น เช่นถ้าเราจะร่วมหุ้นทำบริษัทกับคนคนนึง แล้วทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจเค้าต้องไปถามพ่อ ถามแม่ ถามพี่น้อง ถามลุงป้าน้าอา หรือ สมาคมที่มีกรรมการหลายคน และทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกาตัดสินใจ หลายครั้งโปรเจ็คไม่ค่อยเกิด หรือเกิดก็เกิดแบบประนีประนอมมากๆ - คู่ค้าที่ปล่อยให้เราได้ตัดสินใจในการเลือกคนมาทำงาน
อันนี้อาจจะฟังดูแปลกและไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่บางครั้งเราอาจจะไปเจอคู่ค้าที่บังคับว่า ถ้าจะร่วมงานกัน งานบางอย่างในส่วนของเราต้องใช้คนนี้นะ หรือเราต้องจ้างบุคคลคนนี้มาเป็นที่ปรึกษานะ จนคนคนนั้นมาครอบการตัดสินใจของเราทั้งหมด ก็ดูเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่