ดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศไทยไม่สัมพันธ์กัน จริงไหม?

“ถ้าบริษัทของเรามีเงิน 1 ล้าน เอาไปฝาก Fixed 7 เดือน เราจะได้เงิน 11,080 บาท
แต่ถ้าเราอยากกู้ 1 ล้าน (1ปี) เราจะต้องจ่าย 145,000 บาท หรือ 14.5%

เพิ่งตามข่าวการถกเถียง เรื่องดอกเบี้ยเงินฝาก กับดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศไทยไม่สัมพันธ์กัน แล้วความจริงมันเป็นยังไง ซึ่งตัวผมเองก็ไม่แน่ใจแต่ขอแชร์จากข้อมูลส่วนตัวที่มีตามนี้ครับ

ถ้าเอาเงินส่วนตัวไปฝาก Fixed 15 เดือน (แบบบุคคลธรรมดา) ของธนาคารหนึ่ง ได้ 2.6% ซึ่งสูงมากแล้ว

ถ้าเอาเงินบริษัท (นิติบุคคล) ไปฝาก Fixed 7 เดือน ได้ดอก 1.9%

วันนี้มีแบงค์มา offer OD (แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน บสย. ค้ำให้แต่มีจำนวนเงินให้กู้จำกัด) ให้ 20% ของรายได้ปี พ.ศ. 2566

1. เสียค่าแรกเข้า 2.5-3% ของวงเงิน (เสียก่อนเลย)

2. ดอกเบี้ย MRR+4% (ถ้าไม่ซื้อประกันคุ้มครองสินเชื่อ ถ้าซื้อ เสีย MRR+3.5% ยังไม่ได้ถามว่าค่าประกันเท่าไหร่)
*อ้างอิงจาก SCB MRR+4 = 11.3%

3. ค่าธรรมเนียมค้ำประกันของ บยส. (มีเป็นขั้นบันได เอาเป็นว่า ถูกสุดคือ กู้ 3 ปี เสีย 0.7%)

สรุป…

ถ้าตัวเรามีเงิน 1 ล้าน เอาไปฝาก Fixed 15 เดือน ได้ 2.6% ต่อปี
เราจะได้เงิน 32,490 (2.6%+ 0.649% (2.6%ต่อปี หาร 12 คูณ 3))

ถ้าธุรกิจของเรามีเงิน 1 ล้าน เอาไปฝาก Fixed 7 เดือน
เราจะได้เงิน 11,080 บาท (1.108% (1.9% ต่อปี หาร 12 คูณ 7))
ถ้าคิดเป็นรายปีเพื่อเปรียบเทียบง่าย เราจะได้เงิน 19,000 บาท
*ยังไม่ได้หักภาษีถ้าต้องเสีย

ถ้าเราอยากกู้ 1 ล้าน เราจะต้องจ่าย (ในกรณีไม่ซื้อประกันสินเชื่อ เพราะตอนเขียนยังไม่มีข้อมูล)
1. ค่าแรกเข้า 25,000 บาท (2.5% (คิดน้อยสุด))
2. ดอกเบี้ย 113,000 (11.3% ต่อปี คิดแบบกูปีเดียว)
3. ค่าธรรมเนียมค้ำประกันของ บยส. 7,000 บาท (0.7%)
รวม
145,000 (3.2% จ่ายครั้งเดียว + 11.3% จ่ายรายปี ถ้ากู้ 1 ปี เสีย 14.5%)

ผมไม่มีความรู้พอที่จะมีคำตอบหรือความเห็นเรื่องนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ เอาเป็นว่าขอยกข้อมูลที่มีมาเล่าให้ฟังแล้วกันครับ


Posted

in

by